ลีนุกซ์คืออะไร
![](http://teerapuch.files.wordpress.com/2011/08/logo-linux.jpg)
ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี
และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้
(MultiUser-MultiTasking) มีระบบ X วินโดวส์
ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ
(มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP
ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว
ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับ มาตรฐาน POSIX
ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบาง
ส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V
โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel)
ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน
การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ
แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเทอร์เฟสที่
เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง
386 หรือ 486 ของคุณ
มันจะเปลี่ยนพีซีของคุณให้กลายเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชันที่มีความสามารถสูง
เคยมีผู้เทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม
และเครื่องเวอร์กสเตชันของซันในระดับกลาง
และได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน
และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้ว
ปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์
มอื่นๆด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS
เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว
คุณก็สามารถย้ายแอพพลิเคชันของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก
ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่อง ไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน
และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เนต
เพราะที่อยู่อาศัยจริงๆของแต่ละคนอาจจะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ได้
และมีแผนงานการพัฒนาในระยะยาว ทำให้เรามั่นใจได้ว่า
ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต
และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน
จุดเด่นของ LINUX
1. เป็นระบบที่ใช้ได้ฟรี
2. เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด
3. คอมแพติเบิลกับ Unix
4. ทำงานได้บน PC ทั่วไป
5. ทำงานร่วมกับ DOS และ Windows ได้
6. ใช้แฟ้มร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นได้
7. มีความสามารถด้าน network หลายรูปแบบ
8. มีประสิทธิภาพสูงในการใช้ Hardware
9. Kernel มีประสิทธิภาพสูง
10. มีการใช้ Dynamic linked shared libraries
11. การช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น