วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมา (History

บริษัท AT&T หรือ American Telephone & Telegraph

    ระบบปฏิบัติการเก่าแก่ที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1969 โดยบริษัทเอทีแอนด์ที (AT&T หรือ American Telephone & Telegraph) เพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยแรกเริ่มจะถูกใช้เพื่องานวิจัยหรือเพื่อการศึกษาในมหาวิทยาลัยเท่านั้น ต่อมาได้ถูกนำมาใช้ในทางธุรกิจและเป็นที่นิยมแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับผู้ใช้หลายคน(Multi-User) และสนับสนุนการทำงานแบบหลายงาน (Multi-task) ที่เปิดโอกาสผู้ใช้สามารถรันงานได้มากกว่าหนึ่งงานในเวลาเดียวกัน และเนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษาซี ไม่ใช่แอสเซมบลี ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติที่เด่นกว่าระบบปฏิบัติการอื่น ๆ คือ การไม่ยึดติดอยู่กับฮาร์ดแวร์ (Hardware independent) ดังนั้นจึงสามารถใช้งานยูนิกซ์ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เกือบทุกแบบทุก ประเภทตั้งแต่ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ไปจนถึงเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และนอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมความสามารถทางด้านการเชื่อมต่อเข้ากับระบบ เครือข่ายอีกด้วย
    หลายบริษัทได้หันมาสนใจยูนิกซ์ AT&T จึงได้ออกใบอนุญาตให้กับบริษัทผู้ผลิตมินิคอมพิวเตอร์และเครื่องเวอร์กสเต ชันทั้งหลาย เป็นผลให้ยูนิกซ์ได้รับการปรับปรุงแก้ไขและถูกขายให้กับบริษัทอื่น ๆ อีกหลายบริษัท ซึ่งก็ได้มีการพัฒนายูนิกซ์เวอร์ชันใหม่ ๆ ออกมามากมาย ตัวอย่างเช่น ยูนิกซ์เวอร์ชัน AIX จากบริษัทไอบีเอ็ม Solaris จากบริษัทซันไมโครซิสเต็ม NextStep จากบริษัท Next หรือ Motif จากบริษัทไอบีเอ็ม ดิจิตัลอีควิบเมนท์ และฮิวเลทท์แพ็คการ์ด (Hewlett-Packard) ที่ร่วมกันพัฒนา Motif ขึ้นมา หรือแม้แต่ในปัจจุบันที่มีกลุ่มผู้คนจากทั่วโลกได้ร่วมกันพัฒนายูนิกซ์ เวอร์ชันสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ไลนักซ์หรือลีนุกซ์ (Linux) ออกมา ซึ่งเกิดจากการแลกเปลี่ยนความเห็นกันบนอินเตอร์เน็ตที่ต้องการจะพัฒนา ยูนิกซ์สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับเครื่องขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายกว่าการใช้ยูนิกซ์สำหรับเครื่องขนาดใหญ่
    ยูนิกซ์ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่มีเครื่องมือ (tools) หรือโปรแกรมอำนวยความสะดวก (utilities) และเซลล์ (shell) ที่ช่วยนักเขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนยูนิกซ์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ โครงสร้างระบบไฟล์ยังเหมือนกับระบบปฏิบัติการดอส แต่คำสั่งอาจแตกต่างกันไปบ้าง
    ข้อด้อยของยูนิกซ์คือ ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะต้องจดจำคำสั่งต่าง ๆ ของยูนิกซ์ ซึ่งค่อนข้างยากต่อการจดจำ แต่ในปัจจุบันผู้ผลิตเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ก็ได้พัฒนาโปรแกรมที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic User Interface) จึงช่วยให้การใช้งานยูนิกซ์ง่ายขึ้น นอกจากนี้การที่ยูนิกซ์ถูกพัฒนาเป็นหลายเวอร์ชันจากหลายบริษัท ซึ่งแต่ละเวอร์ชันอาจมีข้อแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย จึงทำให้มีผู้มองว่ายูนิกซ์ไม่มีความเป็นมาตรฐานเดียวกัน
    แต่เนื่องจากยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์หลายประเภทหลายแบบ ดังนั้นจึงเป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้มากในระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีการ เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละประเภทเข้าด้วยกันในลักษณะของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น